หน้าแรก news ย้อนเรื่องราว มานะ มานี ปิติ ชูใจ หนังสือภาษาไทยในความทรงจำ

ย้อนเรื่องราว มานะ มานี ปิติ ชูใจ หนังสือภาษาไทยในความทรงจำ

101
0

 

ย้อนเรื่องราว มานะ มานี ปิติ ชูใจ หนังสือภาษาไทยในความทรงจำ

มานะ มานี ปิติ ชูใจ หนังสือเรียนภาษาไทย แห่งยุค 90 หากพร้อมแล้ว ไปย้อนความทรงจำสมัยประถมศึกษากันค่ะ ย้อนเรื่องราว มานะ มานี ปิติ ชูใจ หนังสือภาษาไทยในความทรงจำ

มานะ มานี ปิติ ชูใจ เป็นหนังสือเรียนภาษาไทย ที่เด็กยุค 90 ต้องรู้จัก วันนี้เราจะพากลับไป ย้อนเรื่องราว มานะ มานี ปิติ ชูใจ หนังสือภาษาไทยในความทรงจำ และใครเป็นผู้ประพันธ์หนังสือเรียนนี้
คนแรก อาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ

 

 

อาจารย์รัชนี เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2473 เป็นผู้สร้างคุณูปการยิ่งใหญ่ต่อการศึกษาไทยในวิชาภาษาไทยเป็นอย่างมาก ขณะเข้ารับราชการเป็นศึกษานิเทศก์ครูภาษาไทย อาจารย์รัชนีได้รับมอบหมายจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เขียนเรื่องประกอบหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ “มานะ มานี ปิติ ชูใจ” โดยนำมาใช้เป็นแบบเรียนตามหลักสูตรจวบจนถึงปี 2537

และเป็นผลงานที่ทำให้ อาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ ได้รับการยกย่องมาจวบจนถึงทุกวันนี้ และนอกจากหนังสือเรียนภาษาไทย มานะ มานี ปิติ ชูใจ อาจารย์ยังมีผลงานวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง “ทางช้างเผือก” และ “เรื่องชื่นใจ” ร่วมกับสำนักพิมพ์ในเครือนิตยสาร a day รวมถึงรายการ “ภาษาไทยใครว่ายาก” เคยเชิญอาจารย์รัชนีเป็นวิทยากร โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556 อีกด้วย

กระทั่ง อาจารย์รัชนี ถึงแก่กรรม ด้วยโรคหลอดเลือดอุดตัน เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557 ด้วยวัย 84 ปี ซึ่งเมื่อครั้งยังมีชีวิต อาจารย์รัชนีแสดงความประสงค์ขอบริจาคร่างกายสำหรับการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย

อาจารย์รัชนี ผู้สร้างตำนานแบบเรียนสุดคลาสสิก “มานะ มานี ปิติ ชูใจ” ได้จากเราไปแล้วตลอดกาล เหลือไว้เพียงผลงานที่ยังคงประทับอยู่ในความทรงจำของอดีตนักเรียนประถมจำนวนมาก แน่นอนว่าสำหรับใครที่อายุเลข 3 ขึ้น และใกล้แตะเลข 3 ต้องเคยได้สัมผัสทุกคน ที่พร้อมเติบโตมากับเรื่องราวของ มานะ มานี จนเขียนอ่านได้คล่อง

คนที่สอง เตรียม ชาชุมพร

 

 

เตรียม ชาชุมพร นักเขียนการ์ตูนฝีมือระดับแนวหน้าของเมืองไทย ผู้มีผลงานอันโดดเด่น จากลายเส้นและบรรยากาศแบบไทยๆ ในงานเขียนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานภาพประกอบแบบเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษาชุด มานะ มานี ปิติ ชูใจ

 

ประวัติคร่าวๆ ของ เตรียม ชาชุมพร

ระหว่างที่เรียนในช่วงปลาย ม.ศ. 3 เตรียม ชาชุมพร ได้รู้จักกับจุลศักดิ์ อมรเวช (หรือ จุก เบี้ยวสกุล) นักเขียนการ์ตูนชื่อดัง ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสิทธิธรรมวิทยาศิลป์ที่เขาเรียนอยู่ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของจุก เบี้ยวสกุล กระทั่งเมื่อจบ ม.ศ.3 แล้ว เตรียม ชาชุมพร จึงทำงานเป็นครูผู้ช่วยสอน และสอบได้วาดเขียนโท

หลังจาก เตรียม ชาชุมพร สอนหนังสืออยู่ 2 ปี เขาก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และนำผลงานไปเสนอต่อ อ.วิริยะ สิริสิงห์ ซึ่งขณะนั้นเป็น ผู้จัดทำนิตยสาร “ชัยพฤกษ์ ฉบับวิทยาศาสตร์” ของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช อ.วิริยะ จึงมอบหมายให้เตรียมเขียน นิยายภาพแนววิทยาศาสตร์ ศักยภาพของ เตรียม ชาชุมพร ได้เปล่งประกายออกมาอย่างเต็มที่ ทำให้ฝีมือของเขาก้าวหน้า อย่างรวดเร็วจนสามารถก้าวขึ้นมาอยู่ในแถวหน้าของวงการนักวาดการ์ตูนในยุคนั้น

ผลงานของ เตรียม ชาชุมพร ได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย เริ่มจากพัฒนาไปสู่นิยายภาพแนวสะท้อนสังคม ผลงานอันโดดเด่นในการสะท้อนภาพชีวิตชนบทได้อย่างน่าประทับใจนี่เอง ทำให้เตรียมได้รับเลือกให้เป็นผู้วาดภาพประกอบในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยชุด มานะ มานี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1

 

 

นอกจากนี้ เตรียม ชาชุมพร ยังได้วาดภาพประกอบใน “เรื่องสั้นชุดชีวิตชนบท” ซึ่งเป็นหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ของกรมวิชาการ จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยองค์การค้าของคุรุสภา เนื้อหาเป็นเรื่องราวการใช้ชีวิตอันรื่นเริงสดใสของบรรดาน้องๆ หนูๆ ในชนบทภาคใต้ จากปลายปากกาของ “มานพ แก้วสนิท” นักเขียนผู้ถนัด เรื่องราวชีวิตชนบทเป็นพิเศษ

 

เตรียม ชาชุมพร เสีย ชีวิตจากอุบัติหตุรถประจำทางปรับอากาศพุ่งชนเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2533 ขณะที่เขาอายุได้เพียง 38 ปี ใน ซึ่งวันนี้แม้ทั้งสองบุคคลสำคัญจะจากเราไปแต่ผลงานของท่านยังคงทำให้เราจดจำท่านไว้ในความทรงจำของคนไทยหลายๆ คน ไปตลอดเช่นกัน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่