เตือน “นิ้วรูปช้อน” อย่ามองข้าม อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายได้
เตือน “นิ้วรูปช้อน” อย่ามองข้าม อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายได้
อีกหนึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมาก เมื่อเพจ Tensia โพสต์เตือนภัยสุขภาพที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ เมื่อ “เล็บบุ๋มเว้า ขอบยกขึ้น” หรือที่เรียกว่า “นิ้วรูปช้อน” (Koilonychia) อาจเป็นมากกว่าความผิดปกติของเล็บธรรมดา แต่อาจสะท้อนถึง ภาวะขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเชื่อมโยงกับ โรคโลหิตจางเรื้อรัง หรือแม้แต่ มะเร็งทางเดินอาหาร ได้ในบางกรณี ระบุว่า
นิ้วแบบนี้เรียกว่า “นิ้วรูปช้อน” (Koilonychia)
อาจบ่งบอกขาดธาตุเหล็ก เป็นสัญญาณของมะเร็งได้
จู่ๆ ใครมีเล็บแบบนี้ มีหน้ามืด ใจสั่นบ้าง
อาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายเรากำลังขาดธาตุเหล็กค่ะ
นิ้วรูปช้อน เป็นภาวะที่เล็บมีลักษณะเว้าตรงกลาง ขอบยกขึ้นคล้ายรูปช้อน พบได้บ่อยในผู้ที่ขาดธาตุเหล็กเรื้อรัง โดยมักพบร่วมกับภาวะโลหิตจางจากการขาดเหล็ก (Iron deficiency anemia) แต่ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกนะคะ
แต่คำถามคือ… ขาดเหล็กแล้วเกี่ยวอะไรกับเล็บ?
เหล็กไม่ใช้สร้างแค่ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือด แต่ยังเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานหลายๆ เอนไซม์เลยค่ะ ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่ากลไกนิ้วรูปช้อนเกิดจากอะไรตรงๆ แต่ทราบกันดีว่าธาตุเหล็กเป็นเครื่องช่วยสำคัญของเอนไซม์สำคัญหลายตัวที่ใช้ในการเจริญของเซลล์เล็บ เช่น:
Ribonucleotide reductase – เอนไซม์สร้าง DNA ในเซลล์เล็บ
Prolyl & Lysyl hydroxylase – สร้างคอลลาเจนใต้เล็บ
Electron transport chain – ขั้นสุดท้ายในการเผาผลาญสารอาหาร
แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีการยืนยันเอนไซม์แน่ชัด
สาเหตุที่ขาดธาตุเหล็กแล้วอันตราย ไม่ใช่แค่เรื่องการมีโลหิตจางร่วมด้วยอย่างเดียว แต่เป็นเพราะสาเหตุของการขาดธาตุเหล็กนี่แหละค่ะ ที่พบบ่อยคือมีการเสียเลือดเรื้อรัง บางทีเสียจากแผลในทางเดินอาหาร บางทีเสียมาจากเนื้องอกค่ะ
สาเหตุอื่นๆ ของนิ้วรูปช้อนมี
โรคผิวหนังเช่น โรคสะเก็ดเงิน, โรค Lichen planus, โรคเชื้อราเล็บ – เป็นกลุ่มที่มีการอักเสบผิวหนังใต้เล็บเรื้อรัง + เร่งการแบ่งตัว (สะเก็ดเงิน) ทำให้เกิดการหนาตัวของเนื้อเยื่อใต้เล็บ (subungual hyperkeratosis) ส่งแรงดันขึ้นบนเล็บจากด้านล่าง จนแผ่นเล็บโค้งเว้า
ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ เช่น ไทรอยด์ต่ำหรือสูง: ส่งผลต่อความแข็งแรงและการเจริญเติบโตของเล็บ
ภาวะขาดสารอาหารอื่นๆ: ทำให้การเจริญของเล็บไม่สมมาตร เช่น วิตามิน C, สังกะสี, ทองแดง, ซีลีเนียม, กรดอะมิโนชนิดซัลเฟอร์ (methionine, cysteine)
พันธุกรรมหรือแต่กำเนิด: พบในบางกลุ่มที่มีประวัติครอบครัว มีลักษณะเล็บบางตั้งแต่เกิด มักพบตั้งแต่เด็กๆ
สรุป
นิ้วรูปชั้นอาจเป็นสัญญาณของโรคบางอย่าง อย่าลืมไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมนะคะ บางโรคที่มันดำเนินเงียบๆ ในร่างเรา มันแสดงออกมาทางร่างกายเราแล้วค่ะ เราแค่ไม่สังเกต